วรรณคดี ขุนช้าง ขุนแผนกับความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งชื่อลูก
วรรณคดี ขุนช้าง ขุนแผนกับความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งชื่อลูก

วันที่เผยแพร่: 10 กันยายน 2558


"ความเชื่อในการ ”ตั้งชื่อลูก” ของคนไทยได้มีมาอย่างยาวนาน คนสมัยก่อนได้มีสอดแทรกความเชื่อเกี่ยวกับการ ”ตั้งชื่อมงคล” โดยได้ มีการคิดคำนวณจากเวลาตกฝากหรือ เวลาเกิดของลูกมาใช้พิจารณา . "

วรรณคดี ขุนช้าง ขุนแผนกับความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งชื่อลูก

          ความเชื่อในการ "ตั้งชื่อลูก" ของคนไทยได้มีมาอย่างยาวนาน คนสมัยก่อนได้มีสอดแทรกความเชื่อเกี่ยวกับการ "ตั้งชื่อมงคล" โดยได้มีการคิดคำนวณจากเวลาตกฝาก หรือเวลาเกิดของลูกมาใช้พิจารณาร่วมกับหลักโหราศาสตร์ ซึ่งมีความเชื่อว่าชื่อมงคลนั้นจะนำความเป็นสิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองมาแก่ให้บุตรหลาน โดยสามารถสังเกตได้จากวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ โดยกล่าวกันว่าเรื่องที่แต่งอ้างอิงมาจากเรื่องจริงของคนสมัยนั้นมีเนื้อเรื่องสอดแทรกเกร็ดประวัติศาสตร์ในช่วงที่ไทยทำสงครามกับเชียงใหม่ และล้านช้าง แล้วเอามาผูกเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณ และกาญจนบุรี โดยเฉพาะการชิงรักหักสวาทคือ นางพิมพิลาลัยหรือนางวันทอง ขุนแผน หรือพลายแก้ว และขุนช้าง อรรถรสทางด้านภาษา และเนื้อหาเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนยุคสมัยนั้นจนเป็นวรรณกรรมอมตะมาจนถึงทุกวันนี้   

          ซึ่งวรรณกรรม “ขุนช้างขุนแผน” ยังสะท้อนความเชื่อเรื่องการตั้งชื่อของคนไทยไว้ด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  2513:8)

พ่อแม่ปรึกษากันย่ายาย                      จะชื่อหลานอย่างไรปู่

ฝ่ายตาตะแกเป็นหมอดู                        คิดคูณเลขอยู่ให้หลานชาย

ปีขาลวันอังคารเดือนห้า                        ตกฝากเวลาสามชั้นฉาย

กรุงจีนเอาแก้วอันแพรวพราย                 มาถวายพระเจ้ากรุงอยุธยา

ให้ใส่ปลายยอดพระเจดีย์ใหญ่               สร้างไว้แต่เมื่อครั้งสร้างหงสา

เรียกวัดเจ้าพระยาไทยแต่ไรมา              ให้ชื่อว่าพลายแก้วผู้แววไว

หรือ

แม่ฝันว่านกตระกุมคาบช้าง                    บินมาแต่ทางพณาสณฑ์

พาไปให้ถึงในเรือนตน                          หัวล้านอกขนแต่เกิดมา

เมื่อตกฟากฤกษ์พารของหลานชาย          ช้างเผือกมาถวายพระพันวษา

จึงให้นามตามเหตุทั้งปวงมา                    หลานรักของข้าชื่อขุนช้าง 

 (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (2513:6)

          จะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อของตัวละครเอกในเรื่องคือ พลายแก้ว และขุนช้าง ยังคงสะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องการ ตั้งชื่อลูก หรือชื่อมงคล  โดยอาศัยหลักการทางโหราศาสตร์เป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งชื่อลูกที่เป็นศิริมงคลก็ยังคงเป็นความเชื่อที่ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้  

 

บทความโดย 

อ.ชัญ  theluckyname  “เปลี่ยนชื่อ  เปลี่ยนชีวิต”

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ “ตั้งชื่อลูก  –ให้ฤกษ์มงคล

 Tags: ตั้งชื่อลูก, ตั้งชื่อมงคล

← ย้อนกลับ

theluckyname
theluckyname
theluckyname